Winnie The Pooh Bear Wants A Hug

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทศกาลเล่นสีของอินเดีย

เทศกาลเล่นสี ถือเป็นวันหยุดของอินเดียในเทศกาลเล่นสี (Holi festival) ที่ฉลองกันทั่วประเทศ เทศกาลสีโฮลี Holiนี้ เป็นเทศกาลเริ่มในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงจากหนาว เป็นอากาศร้อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อมนุษย์ต่อสุขภาพและต่อจิตใจของมนุษย์ เพราะเมื่ออากาศเริ่มเปลี่ยนจากหนาวมาเป็นร้อน คนก็จะไม่สบายเป็นหวัดกันเพราะอากาศเป็นเหตุ ก็ทราบว่าเบื้องหลังเทศกาลนี้มิใช่เพื่อโปรยสีกันเพื่อสนุกสนานอย่างเดียวเท่านั้น แต่คนโบราณได้แฝงเอาธรรมชาติบำบัดเอาไว้ด้วย โดยใช้ผงสีจากพืชและพืชสมุนไพรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีคราม สีเขียว มาโปรยใส่กันทำนองกายบำบัดเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายด้วย
นอกจากนั้น การเปลี่ยนฤดูหนาวเข้าสู่หน้าร้อน ธรรมชาติเองก็เปลี่ยนแปลงสีสันอย่างมาก ดอกไม้สีสันสด บานสะพรั่งเต็มที่ คนอินเดียแต่โบราณ ก็ปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สีสันที่ใช้จึงเป็นสีที่เกิดตามธรรมชาติแท้ๆ ชาวอินเดียจะเปลี่ยนการแต่งตัวจากเสื้อผ้าหน้าหนาวเป็นหน้าร้อน ส่าหรีสีสันสดใสฉูดฉาด อาหารการกินก็เปลี่ยน ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่เขาฉลองกัน จึงเป็นเทศกาลแห่งสีสันที่น่าทึ่งของมนุษย์ที่แสดงถึงความใกล้ชิดธรรมชาติ มองว่าอินเดียนั้นมองเห็นธรรมชาติ จึงปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับธรรมชาติและใกล้ชิดธรรมชาติให้มากที่สุด
ตำนานของ Holi Festivalนั้นมีอยู่หลายเรื่อง เช่น เรื่องเจ้าแห่งอสูรนามว่า Hiranyakashyap ได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะ ซึ่งต่อมาด้วยความที่ไม่มีใครฆ่าได้ ทำให้เจ้าอสูรต้องการให้ทุกคนบูชาตนเองเท่านั้นแต่ลูกชายที่ชื่อ Prahlad กลับบูชาแต่พระวิษณุ Lord Vishanu ทำให้อสูรโกรธมาก พยายามหาวิธีทำให้ลูกตัวเองตาย หนึ่งในวิธีคือการหลอกให้ถูกเผา ทั้งเป็น โดยให้ Prahlad เข้าพิธีบูชาไฟพร้อมน้องสาวของตนที่ชื่อ Holika น้องสาวคนนี้ได้รับพรพิเศษว่าไฟไม่สามารถทำร้ายเธอได้ แต่ปรากฏว่าเมื่ออยู่ในกองไฟ เธอกลับถูกเผาไหม้โดย Prahlad กลับไม่เป็นอะไรเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะพรที่เธอได้นั้นมีเงื่อนไขว่าเธอเข้ากองไฟคนเดียว สำหรับ Prahlad นั้นด้วยการยึดมั่นบูชาถึงพระวิษณุเสมอจึงไม่เป็นอะไรจากไฟ การบูชา Holi มาจากคำว่า Holika สื่อความว่าไฟเผา จึงเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อจะบอกว่าผู้ใดที่ยึดมั่นบูชาพระเจ้าจะไม่เป็นอันตรายและธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ
มีอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของพระกฤษณะที่หลงรักในตัวพระนางที่ชื่อ Radha ความรักระหว่างทั้งสองนั้นลึกซื้งและโรแมนติกมากกล่าวกันว่าพระกฤษณะชอบที่จะเล่นโปรยสีบนตัว Radha จึงกลายมาเป็นประเพณีกันต่อมา นอกจากนั้นก็มีเรื่องของพระศิวะกับนาง Kamadeva ที่รวมความแล้วตำนานต่างๆ สื่อถึงคุณธรรมคือการบูชาที่ดีย่อมนำมาซึ่งความอยู่รอดปลอดภัยของผู้บูชานี้จึงเป็นตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาแต่โบราณของอินเดีย
และคนอินเดียปัจจุบัน เมื่อถึงเทศกาลนี้ก็จะกลับบ้าน ไปหาครอบครัว มอบของขวัญให้กันและกัน อันแสดงถึงความมั่นคงและความรักสามัคคีแห่งสถาบันครอบครัวอย่างเหนียวแน่นของอินเดียได้อย่างชัดเจน โดยมีเทศกาล Holi นี้เป็นช่วงเวลาแห่งการแสดงออก อีกนัยหนึ่งเทศกาลนี้ในสมัยพุทธกาลน่าจะเรียกว่า พาลนักษัตร คือเทศกาลเล่นของคนพาลทั้งหลาย เพราะว่า บรรดาเด็กหนุ่ม ๆ ทั้งหลาย เมื่อถึงเทศกาลนี้ ก็จะดื่มสิ่งมึนเมากันในวันนี้และจะเมาได้และทำอะไรตามใจได้ตามเวลาที่กำหนด
ดังนั้นจึงไม่เหมาะโดยประการทั้งปวงที่สุภาพสตรีจะเดินทางออกนอกบ้านในเทศกาลนี้ เท่าที่สังเกตช่วงที่ประกาศเทศกาลHoli จะเป็นช่วงเวลาแห่งการปล่อยผี ปล่อยความชั่วร้ายทั้งหลาย จะไม่มีรถยนต์วิ่งเลยสักคัน นอกจากมอเตอร์ไซด์ที่วัยรุ่นอินเดียขับออกมาเล่นสีกัน แม้แต่ชาวต่างชาติ ผู้แสวงบุญต่างก็ต้องงดเว้น การเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย เมื่อเลยเวลาที่ประกาศแล้ว ทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
เทศกาล Holi นี้มักจะเล่นสาดสีใส่กันฉลองเทศกาลวันปีใหม่ที่อินเดีย ถือว่าเป็นช่วงเปลี่ยนเข้าสู่วันพระจันทร์เต็มดวงของฮินดู เป็นนิมิตแห่งชัยชนะสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย และฉลองต้อนรับสิ่งดีในปีใหม่ (Holi is also considered a New Year's celebration! This festival finally arrives on the full moon of the Hindu lunar month of Phagan. The Holi on the Western calendar is March 11, 2009 )





เทศกาลชมดอกทิวลิป เนเธอร์แลนด์

สวนเคอเคนฮอฟ (Kerkenhof Garden) เนเธอร์แลนด์
ใครที่หลงรักในฤดูใบไม้ผลิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกทิวลิป ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งที่จะไปชม สวนเคอเคนฮอฟ Keukenhof สวนดอกไม้ใกล้อัมสเตอร์ดัม ความงามของสวนและดอกไม้เหล่านี้ที่สวน Keukenhof จะเปิดให้บริการประมาณสองเดือนในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งหมดของความงดงามตระการตานี้จะมีให้ชมเพียงระยะสั้นๆไม่กี่สัปดาห์
สวนดอกไม้แห่งนี้เป็นความคิดริเริ่มของ นายกเทศมนตรีเมืองลิซเซ่ ในปี 1949 ได้ร่วมกับสมาคมผู้ส่งเสริมการปลูกดอกไม้ประเภทไม้หัว ได้เกิดแนวคิดที่จะมีงานแสดงไม้ดอกประจำปีแบบกลางแจ้ง โดยทำการจัดให้เหมือนกับการได้ชมสวนจริงๆ และก็ได้เลือกเคอเคนฮอฟแห่งนี้เป็นที่จัดแสดง
สวนเคอเคนฮอฟ (Kerkenhof Garden)เป็นสวนสวยที่ผู้คนทั่วโลกปรารถนาที่จะมาเยือน เป็นแหล่งปลูกทิวลิปที่ใหญ่และสำคัญยิ่งของประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นสวนที่สวยงามและสะพรั่งไปด้วยดอกทิวลิป ซึ่งมีมากถึงกว่า 7 ล้านต้นในแต่ละปี รวมทั้งดอกไม้อื่นๆ เช่น ลิลลี่ แดฟโฟดิล หรือนาซิสซัส ไฮยาซินธ์ ออกดอกบานสะพรั่งอยู่ดูละลานตา สวนได้ถูกออกแบบไว้อย่างสวยงามในฤดูใบไม้ผลิของทุกปี ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม สวนเคอเคนฮอฟจะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมดอกทิวลิปและ ดอกไม้แสนสวยนานาพรรณ บริเวณทางเข้ามีสาวน้อยตัวใหญ่ชาวดัชต์ในชุดประจำชาติ คอยต้อนรับให้คำแนะนำเกี่ยวกับสวนและ จำหน่ายแผนที่ให้แก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการ ภายในสวนเต็มไปด้วยดอกไม้หลากสีสันและพรรณไม้ น้อยใหญ่ที่ผลิดอกออกใบต้อนรับฤดูใบไม้ผลิลำธารและสระน้ำน้อยใหญ่ลัดเลาะจัดวาง ในสวนสวยอย่างลงตัวการเลือกสีสันพรรณดอกไม้ ตั้งอยู่ที่ชาน เมืองลิซเซ่ (Lisse) ประเทศ Netherlands อยู่ห่างจากอัมสเตอร์ดัมเพียง 29 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 32 hectares


เทศกาลโคมไฟกลางฤดูใบไม้ร่วงที่ฮ่องกง

เทศกาลฉลองกลางฤดูใบไม้ร่วงของจีนนี้ เป็นหนึ่งในเทศกาลประจำปีที่มีสีสันและมีเสน่ห์ที่สุด เพื่อฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งดวงจันทร์จะกลมโตที่สุดในรอบปี เทศกาลนี้ยังเป็นการฉลองชัยชนะเหนือมองโกลในสมัยศตวรรษที่ 14 ด้วยแผนการอันฉลาดแกมโกง โดยกลุ่มกบฏเขียนลงบนเศษกระดาษเรียกร้องให้ก่อการกบฏ และแอบซ่อนใส่ลงไปในเค้ก และลักลอบนำเข้าไปให้พวกรักชาติ เทศกาลโคมไฟกลางฤดูใบไม้ร่วงนี้จัดขึ้น 16 วันโดยจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ตุลาคม หลังจากการเฉลิมฉลองที่มีสีสันที่สุดเทศกาลโคมไฟกลางฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเต็มไปด้วยประเพณีและความเชื่อ เป็นเวลาที่สมาชิกในครอบครัวจะมารวมตัวกันภายใต้พระจันทร์เต็มดวง เพื่อร่วมชื่นชมโคมไฟอันสวยงาม และเอร็ดอร่อยกับขนมประจำเทศกาลอย่างขนมไหว้พระจันทร์
ตำนานเทศกาลโคมไฟกลางฤดูใบไม้ร่วง
เทศกาลของจีนส่วนมากจะเป็นการผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์และตำนาน รวมถึงเทศกาลโคมไฟกลางฤดูใบไม้ร่วงด้วย ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับตำนานของสาวงามชื่อ ชางโอ ซึ่งเป็นภรรยาของนักแม่นธนูมือฉมัง ตามตำนานชางโอได้ทานยาวิเศษของสามี และลอยขึ้นไปจนถึงดวงจันทร์! นางยังคงอยู่ที่นั่นจนถึงปัจจุบัน และในวันพระจันทร์เต็มดวงของเดือนที่แปดตามจันทรคติ ความงามของนางจะเรืองรองเป็นแสงสีเงินยวงส่องลงมายังโลก




วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทศกาลปาส้มประเทศอิตาลี

เทศกาลปาส้มเป็นเทศกาลต่อสู้ด้วยผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลีซึ่งจัดขึ้นที่เมืองอีเวเรีย แคว้นพีดมอนต์ ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ในงานเทศกาลนี้จะประกอบไปด้วยผู้คนที่เข้ามาร่วมงานกว่า 3,000 คน จะมีผู้บังคับม้าให้ลากรถเกวียนที่บรรทุกกลุ่มอาสาสมัครใส่ชุดนวมและหมวกป้องกันเข้ามาอยู่กลางเมือง หลังจากนี้ไปก็เกิดการปาส้มระหว่างคนบนรถเกวียนกับคนที่ยืนอยู่ด้านล่างกันอย่างอลหม่าน
เทศกาลนี้มีที่มาจากการที่ชาวเมืองทำการต่อต้านท่านเคาท์ราเนรีผู้ปกครองเมืองในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 12ที่มักข่มเหงชาวเมืองด้วยการลักพาตัวหญิงสาวสามัญชน ที่กำลังจะแต่งงานให้ไปเป็นภรรยาของตนเอง จนกระทั่งวันหนึ่งท่านเคาท์ราเนรีได้ไปลักพาตัว ไวโอเล็ตต้า ลูกสาวเจ้าของโรงโม่ข้าวไป ด้วยความกล้าหาญของไวโอเล็ตต้า เธอจึงต่อสู้และสามารถตัดหัวของท่านเคาท์นำมาประจาน ทำให้ชาวเมืองต่างยินดี แต่เมื่อทหารทราบข่าวจึงรีบไปจับตัวไวโอเล็ตต้า ทำให้ชาวเมืองต่างช่วยกันปาหินใส่ทหารเหล่านั้นจนกระทั่งเหตุการณ์ดังกล่าวกลายมาเป็นประเพณีที่ต้องทำกันทุกๆปี เพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของไวโอเล็ตต้าที่ได้นำอิสรภาพมาสู่ชาวเมือง โดยในแต่ละปีก่อนถึงงานเทศกาล จะมีการคัดเลือกเด็กนักเรียนเพื่อให้มารับบทเป็นไวโอเล็ตต้า และมีการจัดหาอาสาสมัครให้ขึ้นไปบนรถเกวียนเพื่อเป็นตัวแทนทหารท่านเคาท์ด้วย เป็นต้น




เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ของประเทศจีน

ขนมไหว้พระจันทร์ทำจากการนำแป้งหมี่กับน้ำมันหมูมานวดเข้ากัน คลึงเป็นแผ่นที่มีความหนาพอประมาณ จากนั้นห่อด้วยไส้ชนิดต่างๆ ไส้ที่สำหรับขนมไหว้พระจันทร์นั้น มีหลากหลายประเภท เช่น ขนมไหว้พระจันทร์นั้น โดยทั่วไปจะห่อด้วยซานจา กุหลาบ ครีมพุทราจีน วอลนัท อัลมอนล์ เม็ดแตง ถั่วบด เป็นต้น ไส้ขนมไหว้พร ะจันทร์ในเขตพื้นที่กวางตุ้ง ซึ่งเป็นภาคใต้ของจีน มักเป็นไข่แดง เม็ดบัว โหงวยิ้ง และเส้นมะพร้าว ส่วนไส้แบบซูโจว มักเป็นกุหลาบ ถั่วบด เม็ดพุทรา พริกกับเกลือ และอาจมรการเพิ่มเม็ดสนและวอลนัทเข้าไปด้วย เมื่อห่อไส้เรียบร้อย ก็จะนำไปบรรจุเข้าไปในเบ้าทรงกลมที่เตรียมไว้ในเบ้านั้นมักมีลวดลายหรือลายลักษณ์อักษร เช่น " โจง ชิว เว่ ปิ่ง " หรือชื่ออื่นๆ เมื่อผ่านการอบและบรรจุเรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งเข้าตลาดต่อไป
เทศกาลไหว้พระจันทร์ของทุกปี (วันที่ 15 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน)ทุกๆ ครัวเรือนจะซื้อขนมไหว้ระจันทร์มาไหว้พระจันทร์ พร้อมกับการชมพระจันทร์จนกลายเป็นประเพณีของจีนตลอดมา สำหรับประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ในวันไหว้พระจันทร์นั้น กล่าวคือ เกิดขึ้นเมื่อสมัยมองโกลเข้ามาปกครองแผ่นดินจีน เมื่อชาวมองโกลกดขี่ข่มเหงและทำร้ายชาวจีนอย่างโหดเหี้ยม และเพื่อควบคุมดูแลชาวจีนอย่างใกล้ชิด ชาวมองโกลจึงส่งทหารของตนไปประจำอยู่ในบ้านของชาวจีนครอบครัวละ 1คน เป็นอันว่าชาวจีนทุกๆครัวเรือนต่างต้องเลี้ยงดูทหารมองโกล 1 คน ทหารมองโกลเหล่านี้ ยังก่อกรรมทำชั่วไปหมด ทำให้ชาวจีนขุ่นเคืองใจเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาท่านหลิวปั๋วเวิน คิดได้วิธีหนึ่ง คือ ให้นำกระดาษเขียนข้อความ แล้วสอดไส้ไว้ในขนม เรียกร้องให้ชาวจีนทุกคนลงมือสังหารทหารมองโกลที่ประจำอยู่ในบ้านของตน อย่างพร้อมเพรียงกันในวันเพ็ญเดือนแปด ทั้งนี้เพื่อให้ชาวจีนที่ไปซื้อขนมมารับประทานกัน ต่างได้อ่านข้อความดังกล่าวและช่วยกันกระจายข่าวนี้ออกไป เพื่อก่อการปฏิวัติโดยพร้อมเพรียงกัน ณ วันเพ็ญเดือนแปด ทำให้สามารถโค่นล้มอำนาจการปกครองของมองโกลในที่สุด
เพื่อเป็นการฉลอง และรำลึกการกอบกู้แผ่นดินที่ประสบการสำเร็จ ประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ในวันเทศกาลดังกล่าวจึงมีการสืบทอดกันตลอดมา
ต่อมา ไม่ว่าแห่งหนใดที่มีชาวจีนเดินทางไปถึงก็จะพาประเพณีรับประทานนมไหว้พระจันทร์ ไปด้วย สำหรับขนมไหว้พระจันทร์ที่แพร่หลายในไทยนั้น เป็นแบบของกวางตุ้งโดยส่วนใหญ่ หลายปีที่ผ่านมา ขนมไหว้พระจันทร์ที่ผลิตในไทย ไม่ว่าด้านคุณภาพ รสชาติ และการบรรจุล้วนมีระดับที่สูงขึ้น แต่แน่นอน ราคาก็สูงขึ้นไปด้วย เรามีความเห็นว่า วันแห่งเทศกาลไหว้พระจันทร์ปีละหนึ่งครั้งนี้ สมาชิกในครอบครัวได้มาอยู่พร้อมหน้ากัน และรับประทานอาหารพร้อมหน้ากันภายใต้พระจันทร์เต็มดวง อันเป็นการนำความสุขสมบูรณ์มาสู่สมาชิกครอบครัวได้เป็นอย่างดี เช่นนี้ นับว่ามีคุณค่าแก่การสืบทอดและเผยแพร่ตลอดไป




เทศกาลลอยกระทงของประเทศไทย

ประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด ในปัจจุบัน การลอยกระทงได้แพร่หลาย และเป็นที่นิยมไปอย่างกว้างขวาง โดยผู้ใหญ่มักจะเกณฑ์เด็กๆ มาช่วยกันทำกระทงนำไปลอยในแม่น้ำ เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา พร้อมทั้งอธิษฐานขอสิ่งดีๆ ให้แก่ตนเอง และคนรัก และครอบครัว
วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้
ประวัติความเป็นมา
ประเพณีลอยกระทงมีมานานจนสืบประวัติไม่ได้ และไม่มีในคัมภีร์ทางศาสนาเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) ได้ค้นคว้าที่มาของประเพณีลอยกระทงไทยทุกภาคตลอดจนถึงประเทศใกล้เคียงคือ พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย ได้ความว่ามีประเพณีลอยกระทงทุกประเทศด้วยเหตุผลต่างๆ กัน
เหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
1.เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย
2.เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
3.เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
4.เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้
การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษโฟม และ ปัจจุบันยังใช้ขนมปังทำด้วยเพื่อจะได้เป็นอาหารให้ปลาและไม่ทำลายแม่น้ำด้วย โดยจุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่น้ำลำคลอง


เทศกาลโคมบัว ฉลองวันวิสาขบูชาที่กรุงโซลประเทศเกาหลี

เทศกาลโคมบัว ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา หรือ วันประสูติของพระพุทธเจ้า ที่ได้สืบทอดมา ตั้งแต่สมัยไตรอาณาจักรของเกาหลีเมื่อสองพันกว่าปีก่อน ในช่วงราชวงศ์โกเรียว (คศ.918-1392)เมื่อศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ จะมีการห้อยโคมไฟดอกบัวหลากสีสัน พร้อมการจัดเทศกาลรื่นเริงทั่วประเทศ ตั้งแต่ในพระราชวัง ไปจนถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ ปัจจุบัน เทศกาลโคมบัวได้กลายเป็นงานประเพณีประจำปีไปแล้ว โดยเฉพาะในใจกลางกรุงโซล ซึ่งในปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2555
จุดเด่น ของงาน คือ ขบวนพาเหรดโคมไฟ ในใจกลางกรุงโซล ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม 2555 (เวลา 19.00-21.30 น.) ขบวนพาเหรดเริ่มต้นที่ทงแดมุน ถึงวัดโชเกซา โดยในทุกๆปี จะมีพุทธศาสนิกชนชาวเกาหลี ชาวต่างชาติและประชาชนทั่วไป ตลอดจนนักท่องเที่ยว มาร่วมในงานนี้ทุกปี กว่า 7 แสนคน
เทศกาลโคมบัวจะมีการประดับโคมไฟ ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ต่าง ๆ เช่น มังกร เสือ หรือ ช้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับ พุทธศาสนา นอกจากนี้ในงานยังมีกิจกรรมอื่นๆ อาทิเช่น การทำโคมบัวด้วยตัวเองเพื่อร่วมขบวนและการแสดงพื้นเมืองต่างๆ


เทศกาลอีสเตอร์ของอังกฤษ

ประวัติความเป็นมาของวันอีสเตอร์ (History of the Holidays: Easter)
อีสเตอร์ วันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในปฏิทินของชาวคริสต์ เป็นการเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู แล้วปาฏิหาริย์นี้เกี่ยวข้องอะไรกับกระต่ายและไข่หลากสีด้วย คำตอบซ่อนอยู่ในพิธีกรรมและประเพณีที่สืบต่อกันมาเป็นหลายร้อยชั่วอายุคนตามบันทึกในพระคัมภีร์ใหม่ พระเยซูและพระอัครธรรมฑูต (The Apostle) เดินทางไปที่เมืองเยรูซาเลม (Jerusalem) เพื่อประกอบพิธี Passover ซึ่งเป็นเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวเพื่อรำลึกถึงการที่ชาวฮิบรูได้รับการปลดปล่อยจากความเป็นทาส หลังอาหารค่ำในพิธี Passover พระเยซูทรงถูกจับกุม และในวันที่เรียกกันในปัจจุบันว่า วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) พระเยซูก็ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน แต่เพียงสองวันนับจากนั้น ท่านก็ทรงฟื้นคืนพระชนม์
ชนชาติยิวเป็นคนกลุ่มแรกที่เริ่มเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์นี้ โดยคาดกันว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Passover ที่จริงแล้ว การเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์เดิมเรียกว่า Pascha ซึ่งมาจากคำว่า Pasach คำในภาษายิวที่แปลว่า Passover
เดิมที เทศกาลอีสเตอร์เฉลิมฉลองกันในวันที่สองถัดจากวัน Passover ดังนั้นมันอาจจะเป็นวันไหนก็ได้ในหนึ่งอาทิตย์ แต่วันอีสเตอร์ที่ตรงกับวันพุธ ออกจะรู้สึกแปลกๆอยู่
ในปี ค.ศ. 325 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ของอาณาจักรโรมัน และที่ประชุมแห่งไนเซีย (The Council of Nicaea) ตัดสินว่าเทศกาลอีสเตอร์ควรต้องตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมา วันอีสเตอร์ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์นั้น จะเป็นวันอาทิตย์แรก หลังพระจันทร์เต็มดวงในวัน Spring Equinox ซึ่งอาจจะเป็นวันไหนก็ได้ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม-25 เมษายน ในช่วงเดียวกันนี้ ชาวคริสต์ได้เริ่มธรรมเนียมเฉลิมฉลองเทศกาลอีกสเตอร์ขึ้นเป็นอย่างแรก นั่นคือธรรมเนียมการการจุดเทียนปัสกา (Paschal Candle) ซึ่งเปลวเทียนนั้นเป็นสิ่งระลึกถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู เป็นเหมือนแสงที่ส่องสว่างออกมาท่ามกลางความมืดมิด
ขณะที่ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายออกไปทั่วทวีปยุโรป มีธรรมเนียมเดิมตามความเชื่อของเพเกนบางอย่างที่ผสมผสานเข้ากับความเชื่อของศาสนาคริสต์ด้วย ที่จริงแล้ว คาดว่าคำว่า อีสเตอร์ (Easter) อาจจะมาจากชื่อของ เทพีเอสตรา (Eastra) เทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิและความอุดมสมบูรณ์ นี่นำเรามาสู่ไข่อีสเตอร์ (Easter Egg)
ไข่เป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิดตามความเชื่อในตำนานมาเป็นพันๆปี คาดว่าชาวคริสต์รับเอาไข่มาเป็นส่วนหนึ่งในธรรมเนียมเทศกาลอีสเตอร์ในช่วงศตวรรษที่ 13 ไข่แดงในเปลือกเป็นสัญลักษณ์แทนการปรากฏตัวของพระคริสต์จากหลุมฝั่งพระศพ และย้อมเปลือกไข่เป็นสีแดงเพื่อแทนพระโลหิตที่พระคริสต์ต้องสูญเสียไปบนไม้กางเขน
ไม่นาน ไข่อีสเตอร์หลากสีก็ได้มีประเพณีเป็นของมันเอง และประเพณีที่เป็นที่ชื่นชอบมากคือประเพณีการกลิ้งไข่อีอีสเตอร์ (Egg Rolling) ในปี ค.ศ. 1876 สภาคองเกรสออกกฎห้ามเด็กๆเล่นการละเล่นนี้ในพื้นที่ของสภา ดังนั้น ประธานาธิบดี รัทเธอร์ฟอร์ด บี. เฮส จึงเปิดสนามหญ้าของทำเนียบขาวให้เด็กๆได้เข้ามาเล่นกัน หลังจากนั้นประเพณีกลิ้งไข่อีสเตอร์ประจำทำเนียบขาว (The White House Easter Egg Roll) ก็กลายเป็นประเพณีประจำที่เกิดขึ้นทุกปี
แล้วกระต่ายอีสเตอร์กระโดดมาเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลได้อย่างไร กระต่ายวัยเจริญพันธุ์เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่เกิดใหม่ตามความเชื่อของเพเกนมาเป็นเวลานาน ในช่วงศตวรรษที่ 16 พ่อแม่เริ่มบอกลูกตัวเองว่า ถ้าเด็กๆเป็นเด็กดี กระต่ายอีสเตอร์ก็จะมาวางไข่หลากสีไว้ที่บ้าน เด็กๆก็จะทำรังไว้ในบ้าน เพื่อล่อให้กระต่ายเข้ามา นี่เองเป็นที่มาของประเพณีการล่าไข่อีสเตอร์ (Ester Egg Hunt) และตะกร้าไข่อีสเตอร์ (Easter Basket) เพื่อช่วยให้เด็กๆ เติมตะกร้าอีสเตอร์ให้เต็มได้ง่ายขึ้น ช่างทำช็อคโกแล็ตในยุโรป ในช่วงยุคศตวรรษที่ 19 ได้เริ่มผลิตช็อคโกแล็ตรูปไข่ออกมา ขนมแบบนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และคนในปัจจุบันใช้เงินเป็นพันๆล้านดอลลาร์ทุกปี เพื่อซื้อขนมในเทศกาลอีสเตอร์
เทศกาลอีสเตอร์เป็นวันแห่งความปีติที่ชาวคริสต์เฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู แค่สองพันปีที่ผ่านมานี้มีธรรมเนียมประเพณีใหม่ๆ ถูกผนวกเข้าไว้มากมาย บ้างเป็นประเพณีทางศาสนา และบ้างก็เป็นประเพณีเพื่อความสนุกสนาน แต่อีสเตอร์ยังเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนในครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิด้วย ฤดูกาลที่ชีวิตใหม่เกิดขึ้นหลังความหนาวเย็นของฤดูหนาว


เทศกาลปามะเขือเทศของสเปน (La Tomatina en España)

เทศกาลปามะเขือเทศของสเปน (La Tomatina en España)


เมื่อพูดถึงประเทศสเปน ที่เลื่องชื่ออีกอย่างหนึ่งของประเทศนี้ คือ การจัดเทศกาลและงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ซึ่งมีหลากหลายตลอดปี และเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจไปซะหมด ดูกี่รอบ ๆ ก็ไม่เบื่อ ส่วนมากแล้ว งานฉลองต่าง ๆ หรือที่เรียกกันในภาษาสเปนว่า La fiesta ลา เฟียซต้า นั้น จะจัดฉลองกันเพื่อประเทศชาติ และคนในประเทศ แต่ก็มีบางงาน ที่เล่นกันในเฉพาะเมือง เพราะว่าแต่ละเมืองของสเปน มีที่มาที่ไปไม่เหมือนกัน ถ้าใครไปสเปน ไม่ว่าจะช่วงไหนของปี ก็จะมีงานฉลอง หรืองานเทศกาลให้ดูกันทั้งปี เทศกาลที่มีชื่อเสียงอันหนึ่งของสเปน แม้แต่คนไทยยังรู้จักกัน เพราะความแปลก คือ เทศกาลปามะเขือเทศ หรือ เรียกว่า La Tomatina ลา โตมาติ๊หน่า ในภาษาสเปน ซึ่งเฉลิมฉลอง เริ่มปามะเขือเทศใส่หัวกัน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมของทุกปี ที่เฉพาะเมือง บุนโยล (Bunyol) ทางภาคตะวันออกของสเปน ซึ่งอยู่ห่างจากบาเลนเซียไป 30 กิโลเมตร เทศกาลปามะเขือเทศนี้ ดุเดือด เข้มข้น ด้วย “ศึกปามะเขือเทศ” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพุธของสัปดาห์นั้น ชื่อก็บอก ว่าเป็นศึกปามะเขือเทศ ดังนั้น คนที่มาร่วมงานเทศกาลนี้ ทั้งชาวเมืองเอง และผู้มาเยือน ต่างก็ปามะเขือเทศใส่กันอย่างสนุกสนาน
ในแต่ละปี ลา โตมาติ๊นา ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศสเปนเป็นจำนวนมาก แล้วก็มีคนมาร่วมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เลยต้องมีการตั้งกฎกติกากัน เพื่อความปลอดภัยและเพื่อรักษาประเพณีอันดีงามไว้ กฎก็มีอยู่ดังนี้
- ไม่ปาขวดหรือของแข็งใส่กัน
- ห้ามฉีกเสื้อยืดกัน
- ต้องทุบมะเขือเทศให้น่วม ก่อนมาปาใส่กัน
- ให้ระวังรถบรรทุกที่บรรทุกมะเขือเทศมาด้วย
- เมื่อเสียงประทัดสัญญาณดังขึ้น ให้หยุดปามะเขือเทศทันที

นอกจากนี้ ก่อนและหลังวันพุธซึ่งเป็นวันทำศึก ก็จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองกัน ส่วนช่วงเวลาเด็ดสุดในเทศกาลนี้ คือช่วงตี 1 ถึงช่วงบ่ายโมงของวันพุธ
ส่วนประวัติของการทำศึกปามะเขือเทศ ก็มีอยู่สองกระแส กระแสแรกบอกว่า ครั้งหนึ่ง มีกลุ่มคนเกิดอยากจะแกล้งคนที่กำลังเดินถนนอยู่ในเมืองโดยร้องเพลงและเล่นดนตรีไปด้วย แต่เขาร้องเพลงและเล่นดนตรีประกอบไม่ดีนัก คนในเมืองเลยตัดสินใจว่าน่าจะหาอะไรปาใส่มันซะหน่อย หันไปหันมา เจอมะเขือเทศ เออ ก็เอามะเขือเทศนี่ละว้า ปาใส่เจ้านักร้องเสียงหลง แถมยังปาผักและผลไม้อื่นๆ ใส่ไปด้วย แล้วก็มีคนมาช่วยปาเยอะขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้าย กลายเป็นศึกปามะเขือเทศใส่กันเองไป
ส่วนอีกกระแสหนึ่ง ซึ่งน่าเชื่อถือมากที่สุด บอกว่า เริ่มจากในปี ค.ศ. 1945 บริเวณทาวน์ สแควร์ ที่จัดศึกปามะเขือเทศในปัจจุบัน นั้นมีคนหนุ่มสาว พากันมาดูขบวนพาเหรด "Gigantes y Cabezudos" กิอ๊านเต่ส อี ก่าเบ๊ซูโดส ซึ่งเป็นขบวนพาเหรดที่โชว์ยักษ์แบบต่าง ๆ ที่มีหัวโคตรน่าเกลียด แล้วหนุ่มสาวกลุ่มนั้น ได้เข้ามาร่วมในวงดุริยางค์ในขบวนพาเหรด แล้วก็ไปผลักคนที่แต่งตัวเป็นยักษ์หัวหน้าเกลียดในขบวนเข้า เจ้ายักษ์ตัวหนึ่งล้มลง พอลุกขึ้น ก็ชกต่อยทุกคนรอบ ๆ พอดีมีแผงขายผลไม้อยู่ข้างทาง พวกหนุ่มสาวเหล่านั้น เลยไปคว้ามะเขือเทศมาปาใส่กัน จนกระทั่งตำรวจต้องเข้ามายุติศึกในครั้งนั้น แต่พวกในขบวนก็ยังไม่หายแค้น เพราะต้องเป็นคนจ่ายค่าเสียหายทั้งหมด
เมื่อถึงปีต่อมา เป็นวันพุธเดิม ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม พวกหนุ่มสาวก็มาเจอกับพวกในขบวนพาเหรดอีกครั้ง คราวนี้ ขนมะเขือเทศกันมาเอง แล้วก็เริ่มทำศึกกันในวันนั้นเอง แต่ก็มีตำรวจมายุติศึกจนได้ ส่วนในปีหลังจากนั้น ทางการได้สั่งห้ามการทำศึกมะเขือเทศ ซึ่งได้กลายมาเป็น “วันทำศึกมะเขือเทศ ”โดยปริยาย แต่กระนั้น ผู้คนก็เริ่มฉลองวันทำศึกดังกล่าว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งในแต่ละปี มีคนมาร่วมงานประมาณ 10,000 คนเลยทีเดียว




เทศกาลของประเทศญี่ปุ่น

เทศกาลฮินะ(Hina Matsuri) หรือฮินะ มัตสุริ เทศกาลนี้จะมีการจัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม เป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยเอโดะ Edo (1603-1867) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของเด็กผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่น โดยจะมีการตกแต่งตุ๊กตาญี่ปุ่น ที่สวยงามหลายตัวบนชั้นวาง ที่ตั้งอยู่ภายในบ้าน ตามความเชื่อที่ว่า จะทำให้ลูกสาวมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข บางครั้งเรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลเด็กผู้หญิง (Girl's Festival) ชาวญี่ปุ่นรับเทศกาลนี้มาจากธรรมเนียมจีน ตามความเชื่อว่า จะสามารถขจัดเคราะห์ร้าย ให้ไปกับตุ๊กตาได้ โดยปล่อยตุ๊กตาลอยไปกับแม่น้ำ ส่วนในประเทศญี่ปุ่น จะถือว่าเป็นเทศกาลของการอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข ขจัดพลังชั่วร้ายออกไปจากชีวิต ประสบความสำเร็จ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และสวย
เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก จะถูกเรียกว่า "ฮัตสุ เซกุ" (hatzu-zekku) โดยจะเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ย่าหรือยาย เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามาจัดโชว์ให้กับหลานสาว เริ่มนำตุ๊กตามาทำความสะอาดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนกระทั่งเมื่อถึงวันที่ 3 มีนาคม ก็จะนำตุ๊กตาฮินะหรือ ฮินะนิงโย (hinaningyo) มาตั้งโชว์ ซึ่งเป็นตุ๊กตาที่ทำด้วยมือแบบดั้งเดิม วางไว้บนชั้นปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้ก ที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมกิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และคิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตา เจ้าชายโอไดริ-ซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะ-ซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง ว่ากันว่าจำนวนชั้นจะมากหรือน้อยนั้น ก็เป็นการแสดงถึงฐานะของแต่ละบ้าน ซึ่งระดับจะสูงสุดที่ประมาณ 7 ขั้น จำนวนตุ๊กตาและการตกแต่งจัดเครื่องแต่งกายให้กับตุ๊กตาก็เป็นการแสดงออกถึง ฐานะเช่นกัน โดยทั่วไปในหนึ่งเซทจะมีประมาณ 15 ตัว เป็นตุ๊กตาชาววังที่เริ่มตั้งแต่ จักรพรรดิ จักรพรรดิ เจ้าชาย เจ้าหญิง ผู้รับใช้ ฯลฯ ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ
ในยุคแรกๆ การตั้งตุ๊กตาเป็นประเพณีของผู้มีอันจะกิน หลักๆ จะเป็นตุ๊กตาเจ้าชายและเจ้าหญิง โดยในสมัยโบราณนั้นจะมีการจัดทำตุ๊กตาฮินะขึ้นจากวัสดุพวกไม้กระดาษที่ทำ ขึ้นมาอย่างง่ายๆ แล้วนำไปใส่กระด้งเล็กๆ ลอยแม่น้ำหรือทะเลเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ภาวนาให้ลูกสาวของบ้านนั้นเติบโตขึ้นโดยมีสุขภาพแข็งแรง หลังจากนั้นก็ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนเกิดเป็นประเพณีของผู้คนทุกฐานะ และเริ่มตกแต่ง ประดับประดา จัดทำเครื่องแต่งกายให้สวยงามมากขึ้น ใช้วัสดุที่ดีอย่างผ้าไหมตัดเป็นเครื่องแต่งกายให้ตุ๊กตาในชุดกิโมโนเต็มยศ แบบโบราณ ซึ่งบางบ้านเป็นตุ๊กตาประจำตระกูลที่สืบทอดต่อๆ กันมาหลายร้อยปี มีการบูชาและถวายเครื่องเซ่นต่างๆ ทั้งขนมหวานที่ชื่อว่า " อาราเร่ " และขนมที่ทำมาจากข้าวเหนียว " คาชิวะ โมจิ " หรืออาจจะเป็นเค้กที่ทำจากข้าว พร้อมเครื่องดื่มพวกเหล้าขาวอย่าง " ชิโรสาเก " และบูชาด้วยดอกไม้อย่างดอกท้อ เทศกาลน่ารักๆ นี้ แต่ละครอบครัวที่มีลูกสาวจะเลี้ยงฉลองพิธีนี้อย่างตั้งใจ มีการดื่มฉลองแสดงความยินดีและอวยพรให้เติบโตอย่างมีความสุข และในปัจจุบันก็เปิดโอกาสให้มีการสังสรรค์กันในกลุ่มเพื่อนๆ เพิ่มขึ้น คืออาจจะชวนกันมาจัดปาร์ตี้กลางแจ้ง ทานอาหารร่วมกันที่บ้าน ซึ่งนับเป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่สามารถสร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข และสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับคนในครอบครัว
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยตามความเชื่อในเทศกาลฮินะ มัตสึริ (Hina matsuri)
1.มีความเชื่อกันว่าถ้าบ้านไหนจัดบูชาตุ๊กตาในวันที่ 3 มีนาคมแล้วนั้น หากพ้นวันนี้ไปแล้วต้องรีบเก็บตุ๊กตาทันที เพราะหากประดับทิ้งไว้นานๆ จะทำให้ลูกสาวขึ้นคานได้ แต่ก็มีอีกความเชื่อหนึ่งที่กล่าวว่า จะตั้งตุ๊กตาฮินะประดับไว้จนถึงวันเด็กผู้ชายในวันที่ 5 พฤษภาคม เพื่อเป็นการฉลองต่อเนื่องกันไปเลย จากนั้นจึงค่อยเก็บให้เรียบร้อยเพื่อนำออกมาประดับในปีต่อๆไป
2.เทศกาลฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) มีชื่อเรียกด้วยกันหลายชื่อ เช่น โมโมโนะเซกุ (Momo-no-Sekku) เทศกาลตุ๊กตา (Doll's Festival) เทศกาลเด็กผู้หญิง (Girl's Festival)
3.ฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) มาจากคำว่า ฮินะ (Hina) ซึ่งเป็นคำโบราณที่ หมายถึง ตุ๊กตา ส่วนคำว่า มัตสุริ (Matsuri) หมายถึง เทศกาล

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว






ประวัติส่วนตัว

ชื่อ เบญญาภรณ์ นามสกุล บรรจง ชื่อเล่น "แจน"

อายุ : 16ปี 

เรียนอยู่ที่ : โรงเรียนลำปางกัลยาณี ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

แผนการเรียน :  อังกฤษ - คณิต 


นิสัย : เฮฮา ร่าเริง ยิ้มง่าย ชอบกังวลไปหน่อย สนุกสนาน

ชอบสี : ชมพู ฟ้า ขาว น้ำตาล

อาหารที่ชอบ :  ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด ราดหน้า

ผลไม้ที่ชอบ : แตงโม สับปะรด แคนตาลูป

สิ่งที่ชอบ :  หมีพูห์

กีฬาที่ชอบ : แบตมินตัน บาส วอลเล่ย์บอล

สถานที่ที่อยากไป : ทะเล ปาย 

อาชีพที่ใฝ่ฝัน : แพทย์

ชอบอ่านหนังสือ : นิตยสาร นิยาย หนังสือเรียน ( บางครั้ง ) !!!!!

สัตว์เลี้ยงที่ชอบ : สุนัข

รักที่สุด : พ่อ แม่ พี่ เพื่อน

เพื่อนๆเรียก : แจนจุ้น

งานอดิเรก : ฟังเพลง ดูหนัง ทำขนม อ่านหนังสือ ดูทีวี

E-mail : Greentead-i-y@hotmail.com

คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด